ทฤษฏีการบริหารการศึกษา
มาสโลว์ เป็นผู้วางรากฐานจิตวิทยามนุษย์นิยม
เขาได้พัฒนาทฤษฎีแรงจูงใจ ซึ่งมีอิทธิพลต่อระบบการศึกษาของอเมริกันเป็นอันมาก
ทฤษฎีของเขามีพื้นฐานอยู่บนความคิดที่ว่า
การตอบสนองแรงขับเป็นหลักการเพียงอันเดียวที่มีความสำคัญที่สุดซึ่งอยู่เบื้องหลังพฤติกรรมของมนุษย์
มาสโลว์
แบ่งความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ออกเป็น 5 ระดับด้วยกัน
ได้แก่
1.ความต้องการทางกายภาพ
2.ความต้องการความปลอดภัย
3. ความต้องการทางสังคม
4.ความต้องการยกย่องชื่อเสียง
5.ความต้องการที่จะรู้จักตนเองตามสภาพที่แท้จริงและความสำเร็จของ
คุณวิลเลียม
โอชิ เป็นเจ้าของทฤษฎี
ลูกผสมระหว่างญี่ปุ่นกับอเมริกัน ทฤษฎี Z
บางตำราอาจจะเรียกว่ากลุ่มทฤษฎีร่วมสมัย
เป็นทฤษฎีที่มองเห็นว่าการจูงใจคนนั้นต้องเป็นไปตามสถานการณ์
แต่ทฤษฎีร่วมสมัยบางอย่างที่เกิดขึ้นมาใหม่ก็ยังไม่ได้รับการยอมรับว่าเป็นทฤษฎี
แต่อยู่ระหว่างการศึกษาทดลองเพื่อปรับให้เป็นทฤษฎี เพราะการบริหารจัดการของโลกนั้น แบ่งออกเป็น 2
ค่าย คือ ค่ายอเมริกัน และค่ายญี่ปุ่น
โดยสาเหตุที่ต้องศึกษาเช่นนั้น เพราะเขามองว่า ในค่ายอเมริกันนั้น
มักประสบความสำเร็จในธุรกิจโดยเฉพาะก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 และเป็นผู้ที่ชนะสงครามโลกครั้งที่
2
อังริ
ฟาโยล (Henri Fayol) เป็นนักอุตสาหกรรม
ชาวฝรั่งเศส มีประสบการณ์ด้านการบริหารองค์การของรัฐขนาดใหญ่ ได้นำเสนอหลักการที่เขาเรียกว่า
หลักการจัดการ 14 ประการ (Fayol's Fourteen
Principles of Management) ซึ่งมีดังต่อไปนี้ คือ
1. การจัดแบ่งงาน
2. การมีอำนาจหน้าที่
3. ความมีวินัย
4. เอกภาพของสายบังคับบัญชา
5. เอกภาพในทิศทาง
6. ผลประโยชน์ของหมู่คณะจะต้องเหนือผลประโยชน์ส่วนตน
7. มีระบบค่าตอบแทนที่ยุติธรรม
8. ระบบการรวมศูนย์
9. สายบังคับบัญชา
10. ความเป็นระบบระเบียบ
11. ความเท่าเทียมกัน
12. ความมั่นคง
และสามัญฐานะของบุคลากร
13. การริเริ่มสร้างสรรค์
14. วิญญาณแห่งหมู่คณะ
แมกซ์ เวเบอร์ (Max
Weber) เป็นนักสังคมวิทยา ชาวเยอรมัน ได้นำเสนอแนวคิดการจัดองค์การ
ที่เรียกว่า bureaucracy เขาเห็นว่าเป็นลักษณะองค์การที่เป็นอุดมคติที่องค์การทั้งหลายควรจะเป็น
หากได้รับการพัฒนาในระดับที่เหมาะสม โดยสรุปแล้วแนวคิดการจัดองค์กรของเว็บเบอร์มี 6
ประการมีดังนี้ คือ
1. องค์การต้องมีการจัดแบ่งงานออกเป็นส่วนๆ
2. องค์การนั้นต้องมีสายบังคับบัญชาตามลำดับ
3. ระบบการคัดเลือกคนนั้นต้องกระทำอย่างเป็น
4. องค์การต้องมีระเบียบ และกฎเกณฑ์
5. ความไม่เลือกที่รักมักที่ชัง
6. การแยกระบบการทำงานออกเป็นสายอาชีพ
Luther
Gulick เป็นผู้คิดรูปแบบการบริหารจัดการโดยมีกิจกรรม 7 ประการมาใช้ในการบริหารจัดการ ในวงการบริหารจะรู้จักกิจกรรมทั้ง 7 ประการนี้เป็นอย่างดี มีคำย่อว่า POSDCORB(CO คือคำเดียวกัน)
มีการนำรูปแบบการบริหารจัดการของ Luther Gulick ไปใช้ในการบริหารองค์กรสมัยใหม่อย่างกว้างขวาง
แนวความคิดที่นำเอามุมมองทั้ง 7 ด้านมาใช้นั้นสอดคล้องกับทฤษฎีการบริหารจัดการของ
Henri Fayol , Frederick W.Taylor และ Max Weber
เฮิร์ซเบอร์กได้ศึกษาเรื่องเกี่ยวกับแรงจูงใจของคน
เขาได้ศึกษาโดยการสัมภาษณ์พนักงานในเรื่องของความพึงพอใจจากการทำงาน
และทำให้เขาได้ผลสรุปว่าแรงจูงใจของมนุษย์จะประกอบด้วย 2
ปัจจัย คือ
1.
ปัจจัยภายนอก ปัจจัยภายนอกนั้นจะเป็นแรงจูงใจที่สนองตอบต่อความต้องการภายนอกของคน
2. ปัจจัยภายใน ปัจจัยภายในจะก่อให้เกิดแรงจูงใจกับคนอยู่ได้นานกว่าปัจจัยปัจจัยภายในที่ประกอบด้วย
การที่คนทำงานจนบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้
เทย์เลอร์
ได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งการจัดการตามหลักวิทยาศาสตร์
ปรัชญาการบริหารของเทย์เลอร์ได้แก่
1.ทำการศึกษางานแต่ละส่วนด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์
2.ใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ในการคัดเลือกและการฝึกอบรมพนักงาน
3. มีการประสานงานกันอย่างใกล้ชิดระหว่างผู้บริหารและพนักงาน
4. แบ่งงานและความรับผิดชอบในงานเป็นส่วนต่าง
ๆ
แนวคิดของ Gilbreth
เน้นการกำจัดความสิ้นเปลือง และความไม่มีประสิทธิภาพในการทำงาน
โดยการหาวิธีการทำงานที่ดีที่สุดอย่างหนึ่ง การศึกษาที่สำคัญคือลักษณะการเคลื่อนไหวของร่างกายในการทำงาน พวกเขาได้นำกล้องเพื่อทำการถ่ายรูปเก็บข้อมูล
นำมาใช้ศึกษาลักษณะการทำงานของมนุษย์ ศึกษาในเรื่องของเวลาและการเคลื่อนไหวเราจะเห็นได้ว่าบุคคลทั้งสองช่างเป็นผู้ที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล
บทที่ 1
มโนทัศน์เกี่ยวกับการบริหารการศึกษา
.ความเป็นมาและพัฒนาการบริหาร
การบริหาร เริ่มใช้เมื่ออาณาจักรโรมันล่มสลายโดยกลุ่มนักรัฐศาสตร์ซึ่งเรียกตัวเองว่า
“Cameralists”ให้คำจำกัดความ การบริหาร
หมายถึง
การจัดการหรือควบคุมกิจการต่างๆ
ของรัฐ เช่น การบริหารการเงินของมูลนิธิ การบริหารกิจกรรมการภาษี เป็นต้น
ต่อมาพวกอเมริกันที่เรียกว่า Federalist ให้ความหมาย การบริหารว่า
เป็นการบริหารของรัฐ หรือการบริหารตามแนวรัฐศาสตร์
ความสำคัญของการบริหาร เป็นการดำรงอยู่รวมกันของมนุษย์
เป็นผลทำให้การบริหารของหน่วยงานต่างๆได้ขยายงานอย่างกว้างขวางคำว่าการบริหารการศึกษา หมายถึง
กิจกรรมต่างๆ
ที่บุคคลหลายคนร่วมกันดำเนินการ
เพื่อพัฒนาสังคมในทุกๆด้าน
สำหรับปรัชญาของการศึกษามีอยู่ 13 ประการ คือ
1.ผู้บริหารต้องใช้ความฉลาดไหวพริบมาใช้แก้ปัญหา 2. ผู้บริหารต้องเปิดให้คนเข้าร่วมในการทำงาน
3.ผู้บริหารต้องเคารพความเป็นคนของแต่ละคน 4.ผู้บริหารต้องยึดเป้าหมายของการศึกษาเป็น
5.ผู้บริหารต้องถือว่าตนเป็นผู้ประสานประโยชน์ 6.ผู้บริหารต้องเปิดโอกาสให้คนเข้าพบทำความเข้าใจ
7.ผู้บริหารต้องถือว่าตนเป็นผู้นำ 8.
ผู้บริหารต้องถือว่าตนเองคือนักศึกษาผู้ยึดมั่น
9. ผู้บริหารต้องเสียสละทุกอย่าง 10. ผู้บริหารจะต้องประสานงาน
11.ผู้บริหารจะต้องบริหารงานอยู่เสมอ 12.
ผู้บริหารต้องเคารพในวิชาชีพของการบริหาร
13.ผู้บริหารต้องขวนขวายหาความรู้ใส่ตนอยู่เสมอ และแสวงหาความชำนาญ
บทที่ 2
วิวัฒนาการของการบริหารยุคต่างๆและการประยุกต์ใช้ในการบริหารการศึกษา
2.1
วิวัฒนาการด้านรัฐกิจ การบริหารงานของรัฐหมายถึง
การบริหารหรือจัดการหรือดำเนินการในด้านรายละเอียดอย่างมีแบบแผน
ซึ่งเกี่ยวพันกับกฎหมายต่างๆของรัฐการใช้กฎหมายคือการบริหาร
2.2 วิวัฒนาการด้านธุรกิจ การจัดการ
เป็นสาขาที่สำคัญ
นอกจากการใช้
“ระเบียบวินัยในการทำงาน” การบริหารด้านธุรกิจมีการวางกฎเกณฑ์
2.3 การแบ่งยุคของยุคของนักทฤษฎีการบริหาร
2.3.1 ยุคที่1 นักทฤษฎีการบริหารสมัยเดิม
2.3.2 การประยุกต์ใช้หลักการบริหารเชิงวิทยาศาสตร์ในการบริหารการศึกษา
2.3.3 ยุคที่2 ยุค Human Relation
Era ทฤษฎีมนุษย์สัมพันธ์
2.3.4 การประยุต์ใช้หลักมนุษย์สัมพันธ์ในการบริหารการศึกษา
2.3.5 ยุคที่3 ยุคการใช้ทฤษฎีทางการบริการ
2.3.6 การประยุกต์ใช้พฤติกรรมศาสตร์ในการบริหารการศึกษา
2.3.7 ทฤษฎีองค์การเชิงระบบ
2.3.8 การประยุกต์เชิงระบบในการบริหารการศึกษา
บทที่ 3
งานบริหารการศึกษา
การที่มีใครสักคนเข้ามาบริหารงานการศึกษาและสามารถเข้ากับประชาชน ครูและนักเรียนได้แต่การศึกษายังถูกเข้าใจว่า เป็นงานธรรมดาที่ใครก็สามารถทำได้และการบริหารการศึกษาจะไม่แตกกับการบริหารงานทั่วไป ในวงการเดียวกัน อาจารย์ใหญ่จะรับผิดชอบต่อผู้บริหารที่สูงขึ้นไป
คุณลักษณะและผลเสียของการบริหารดังกล่าวสามารถมองเห็นได้ง่าย เพราะจะมีลักษณะเผด็จการโดยการสั่งการสั่งจากเบื้องบน มีคำสั่งให้ครูปฏิบัติและมีข้อห้ามในการกระทำ
และมีการควบคุมอย่างเข้มงวดและมีการลงโทษหากผู้ใดฝ่าฝืนและลงโทษตามกฎหมายกำหนดและมีเครือข่ายทางการศึกษาดังนี้
1.การผลิต
หมายถึง กิจกรรมพิเศษหรืองานที่ทางองค์การได้จัดตั้งขึ้น ในทางการศึกษา
2.การประกันถึงการใช้ผลผลิตจากประชาชน หมายถึง
กิจกรรมและผลผลิตของการดำเนินงาน
3.การเงินและการบัญชี
หมายถึง
การรับและการจ่ายเงินในการลงทุนในกิจกรรมขององค์การ
4.บุคลากร
คือ
การกำหนดรอบและการดำเนินการของนโยบาย
5.การประสานงาน
คือ เป็นกิจกรรมที่สำคัญของการบริหารการศึกษา
บทที่ 4
กระบวนการทางการบริหารการศึกษา
การบริหารการศึกษาเป็นหน้าที่หนึ่งของรัฐบาลในการบริหารประเทศ
เป็นการบริหารธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาแก่เด็กและเยาวชน ที่เรียกว่าการบริหารการศึกษาสิ่งที่ทำให้การบริหารการศึกษา การบริหารราชการ และการบริหารธุรกิจจะแตกต่างกัน และปรัชญาการศึกษา
ในการบริหารการศึกษาผู้บริหารนั้นจะต้องรู้เกี่ยวกับหลักการบริหาร ที่สามารถนำไปเป็นหลักการจัดการศึกษาในโรงเรียนมี 2 เรื่อง
คือ 1.การจัดระบบสังคม,2.เป้าหมายและวัตถุประสงค์ของการศึกษา
สำหรับหลักการจัดระบบการศึกษา ไม่ว่าระดับชาติ ระดับท้องถิ่น
ระดับโรงเรียน คือ จะต้องรู้จักเด็กทุกคน โดยยึดหลักความเสมอภาคและเหมาะสมกับปรัชญา
สภาพแวดล้อมของโรงเรียน และมีการส่งเสริมกิจกรรมให้สอดคล้องกับการปกครองในการบริหารงานในชั้นเรียนอย่างเท่าเทียมกันโดยกระบวนการบริหารการศึกษา
เป็นความคิดรวบยอดและเป็นการจัดระบบการศึกษา ให้เป็นไปตามกระบวนการศึกษาของโรงเรียน
บทที่ 5
องค์การและการจัดองค์การ
5.1 ความหมายขององค์การ
เราสามารถจำแนกองค์การที่อยู่รอบตัวเราออกเป็น 3 ลักษณะใหญ่ๆคือ
1.องค์การทางสังคม 2.องค์การทางราชการ 3.องค์การเอกชน
5.2 แนวคิดในการจัดองค์การ
1. แนวคิดในการจัดองค์การมาจากพื้นฐานการดำเนินงานขององค์การที่ภารกิจมาก
2. แนวคิดในการจัดองค์การยังต้องคำนึงถึง “ผู้ปฏิบัติงาน”
3. แนวในการจัดการองค์การ จะต้องกล่าวผู้บริหารควบคู่กันไป
5.3 ความสำคัญของการจัดองค์การ องค์การเป็นที่รวมของคนและเป็นที่รวมของงานต่างๆ เพื่อให้พนักงานขององค์การ ปฏิบัติงานได้อย่างเต็มที่และเต็มความสามารถ
5.4 หลักการในการจัดองค์การ
1. หลักวัตถุประสงค์ 2. หลักความรู้ความสามารถเฉพาะอย่าง
3. หลักการประสานงาน 4. หลักการบังคบบัญชา
5. หลักความรับผิดชอบ 6. หลักความสมดุล
7. หลักความต่อเนื่อง 8. หลักการโต้ตอบและการติดตาม
9. หลักขอบเขตของการควบคุม 10. หลักเอกภาพในการบังคับบัญชา
11. หลักตามลำดับขั้น 12. หลักการเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่ง
5.5 องค์ประกอบในการจัดองค์การ
1. หน้าที่การงานเป็นภารกิจ 2. การแบ่งงานกันทำ 3. การรวมและการกระจายอำนาจในการจัดการองค์การ
5.6 ประเภทขององค์การรูปนัย แบ่งออก
4 ประเภท
1. สมาคมเพื่อประโยชน์ของสมาชิก 2. องค์การทางธุรกิจ
3. องค์การเพื่อบริการ 4. องค์การเพื่อสาธารณชน
5.7 ทฤษฎีองค์การ คือ
ความรู้ที่ได้จากทฤษฎีขององค์การอันด้มาจากสังคมวิทยา รัฐศาสตร์
และบางส่วนของจิตวิทยาสังคมกับเศรษฐศาสตร์
5.8 ระบบราชการและองค์การทางการศึกษา
ระบบราชการ หมายถึง
ระบบการบริหารที่มีลักษณรวมอำนาจไว้ที่ศูนย์กลางอย่างมาก มีความอิสระในการปฎิบัติงานและเป็นกึ่งทหาร
บทที่ 6
การติดต่อสื่อสาร
การติดต่อสื่อสารเป็นองค์ประกอบหนึ่งในกระบวนการบริหารที่ดี มีความหมายว่ากระบวนการติดต่อเกี่ยวข้องและประสานงานกันระหว่างบุคคล
โดยอาศัยวิธีการถ่ายทอด และการรับข้อมูลเพื่อเป้าหมายที่ตั้งไว้
การติดต่อสื่อสารจึงมีความสำคัญอย่างหนึ่งในการบริหารเพื่อการแลกเปลี่ยนความคิดหรือเสริมสร้างความเข้าใจระหว่างกันและยังมีความสำคัญในการดำเนินการในองศ์การอย่างมาก
ปัจจัยในการติดต่อสื่อสารมี 3 ตัว คือ สื่อ ช่องทางที่สื่อผ่านและกระบวนการ รูปแบบของการติดต่อสื่อสาร
การจัดเตรียม การสังเกตการณ์ของกระบวนการ การจำแนกปัจจัยผันแปร
บทที่ 7
ภาวะผู้นำ
ภาวะผู้นำ หมายถึงการเป็นผู้นำที่ใช้อิทธิพลในการดำเนินงาน
ในความสัมพันธ์ต่อผู้ใต้บังคับบัญชาในสถานการณ์ต่างๆเพื่อปฏิบัติการและอำนวยการ
โดยใช้กระบวนการติดต่อชึ่งกันและกัน หน้าที่ผู้นำเกี่ยวข้องกับ การอำนวย การจูงใจ
การริเริ่ม กำหนดนโยบาย วินิจฉัยสั่งการ องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับภาวะผู้นำ
มีผู้นำ ผู้ตาม สถานการณ์
ผู้นำกับผู้บริหารจะแตกต่างกันคือผู้นำก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในองค์กร
ส่วนผู้บริหารเป็นผู้รักษาความมั่นคงในหน่วยงาน
บทที่ 8
การประสานงาน
การประสานงาน คือการจัดระเบียบวิธีการทำงาน
เพื่อให้งานและเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่งๆร่มมือปฎิบัติงานเป็นน้ำหนึ่งเดี่ยวกัน เพื่อให้งานดำเนินไปอย่างราบรื่นสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และนโยบาย
ความมุ่งหมายในการประสานช่วยให้คุณภาพและผลงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์
เพื่อจัดความซ้ำซ้อนกันของการทำงานโดยไม่จำเป็น
และเพื่อลดปัญหาความขัดแย้งกันระหว่างเจ้าหน้าที่ปฎิบัติงาน
ภารกิจในการประสานงานที่ดี ควรทราบถึงภารกิจที่ดีในการประสานงานคือต้องทราบนโยบาย
แผนงาน งานที่รับผิดชอบ และทรัพยากร
ส่วนหลักการประสานงานควรจัดให้มีระบบในการสื่อสาร ความร่วมมือ
การประสานงานและนโยบายที่ดี และในการประสานให้มีประสิทธิภาพและรวดเร็ว
บทที่ 9
การตัดสินใจสั่งการหรือการวินิจฉัยสั่งการ
การตัดสินใจคือการชั่งใจไตร่ตรองหาเหตุผลเพื่อให้การดำเนงานไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้
ส่วนการวินิจฉัยสั่งการคือการสั่งงานหรือการพิจารณาตกลงชี้ขาดจากทางเลือกที่มีอยู่มากกว่าหนึ่งทางขึ้นไป
หลักการในการตัดสินใจหรือวินิจฉัยสั่งการ
บางครั้งตัดสินใจถูกแต่การสั่งงานผิดพลาดอาจทำให้เกิดผลเสียหายแก่งาน ลักษณะการวินิจฉัยสั่งการของผู้บริหารที่ดี
จะต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์ดังนี้ ระยะเวลาที่เหมาะสม ความแน่นอน
ความรู้ความสามารถของผู้บริหาร ประสบการณ์ในการทำงาน ทัศนคติ บุคลิกภาพที่มีอิทธิพล
ความลำเอียงส่วนบุคคล ความโดดเดี่ยว ประสบการณ์ การรู้โดยความรู้สึก
และการแสวงหาคำแนะนำ
บทที่ 10
ภารกิจของผู้บิหารโรงเรียน
ผู้บริหารโรงเรียน ถือว่าเป็นบุคคลสำคัญที่ได้รับการแต่งตั้งหรือมอบหมายงานให้มีอำนาจหน้าที่ในการจัดการศึกษาหรืออำนวยการต่างๆ จะมีหลายด้าน ดังนี้ 1.การบริหารงานวิชาการ จะเป็นหัวใจของการบริหารในโรงเรียน
ลักษณะและความสำคัญของงานวิชาการ จึงถือว่างานวิชาการท้าทายผู้บริหารการศึกษา 2.การบริหารบุคคล คือการจัดงานเกี่ยวกับคนให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ส่งเสริมให้กำลังใจผู้ปฎิบัติให้ทำงานอย่างมีปะสิทธิภาพ ความสำคัญของการบริหารบุคคล คือ
คนเป็นผู้บันดาลให้ทุกสิ่งทุกอย่างเกิดขึ้น วัตถุประสงค์
เพื่อสรรหาและเลือกสรรคนดี
มีความรู้ความสามารถมาทำงานให้เกิดผลสูงสุดอยู่กับองศ์การ 3.การบริการธุรการในโรงเรียน คืองานธุรการเป็นเรื่องของการให้บริการแก่หน่วยงานต่างๆของโรงเรียนหรอสถาบันการศึกษา
ส่งผลให้การเรียนการสอนเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด 4.การบริหารงานนักเรียน
เป็นการบริการงานเกี่ยวกับนักเรียนในส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนในห้องเรียน
5.การบริหารอาคารสถานที่และบริการด้านอื่นๆ
คือการรู้จักจัดหา รู้จักใช้อาคารให้เกิดประโยชน์สูงสุดและให้คงสภาพดีสนองความต้องการได้อย่างเพียงพอ