วันจันทร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2555


กิจกรรมสอบสอบกลางภาค

 เรื่องการสอนแนะให้รู้คิด (Cognitively Guided Instruction: CGI)

ให้นักเรียนอ่านบทความแล้วดำเนินการดังนี้

1.ข้อสรุปที่ได้จากบทความ

เป็นการสอนแนะให้รู้คิด แนวการสอนรูปแบบนี้ มีรายละเอียดเกี่ยวกับ หลักการของการสอนแนะให้รู้คิด หลักการจัดการเรียนรู้แบบการสอนแนะให้รู้คิด เป็นขั้นตอนของการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน CGIและมีการนำเอาพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  ..2542และฉบับแก้ไขเข้ามาใช้คือการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับความสนใจของผู้เรียน  และเน้นการฝึกทักษะด้านการคิด  โดยให้ผู้เรียนคิดด้วยตนเองเป็นหล่อหลอมให้ผู้เรียนมีความคิดที่สร้างสรรค์   โดยให้สอดคล้องกับการจัดการเรียนรู้แบบการสอนแนะให้รู้คิดCGI  แล้วนำความรู้เหล่านี้มาจัดกิจกรรมการเรียนรู้มาพัฒนาความเข้าใจของผู้เรียนในทางคณิตศาสตร์และสามารถนำเอามาประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันได้

2.ถ้าท่านเป็นครูผู้สอนท่านจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์กับการเรียนการสอนได้อย่างไร
การนำเอาความรู้ในการสอนแบบแนะให้คิด CGI  มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนในวิชาคณิตศาสตร์โดยจะใช้ในการพัฒนาเกี่ยวกับองค์ความรู้ของผู้เรียนและจะให้ผู้เรียนรู้จักคิดด้วยตนเองรู้จักหาวิธีในการแก้ปัญหาการเรียนรู้เป็นขั้นตอน  และให้ผู้เรียนลงมือกระทำกิจกรรมด้วยตนเอง  สร้างความรู้ใหม่ๆด้วยตนเอง  แต่ก็ไม่ทิ้งหลักการสอนแบบเดิม  และควรคำนึงถึงความรู้พื้นฐานของผู้เรียน  พัฒนาการการคิดด้านคณิตศาสตร์ของผู้เรียนด้วยว่ามีความรู้เท่าไร   และมีการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้พูดคุยและนำเสนอแนวคิดทางคณิตศาสตร์ที่มีรูปแบบหลากหลายและสามารถอธิบายวิธีการในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ได้

3.ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะออกแบบการเรียนการสอนที่จะนำแนวคิดนี้ไปใช้ได้อย่างไร
การจัดกระบวนการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับความสนใจและความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียนตรงตามจุดมุ่งหมายและตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช2551โดยมีผู้สอนเป็น ผู้สนับสนุนและเอื้ออำนวยความสะดวกในการจัดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง โดยใช้กระบวนการต่างๆ ที่นำไปสู้คำถามเพื่อการแก้ปัญหาและเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ทำงานเป็นกลุ่ม มีโอกาสนำเสนอความคิดของตนเอง ร่วมกันอภิปราย ก่อให้เกิดการเชื่อมโยงความรู้เดิมของผู้เรียนให้สัมพันธ์และสอดคล้องกับกระบวนการเรียนรู้ที่จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและชัดเจน




เรื่อง ความเป็นครูในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

1.ข้อสรุปที่ได้จากบทความ
                ความเป็นครูของพระบาทสมเจ้าอยู่หัว  คือการทำงานเพื่อแผ่นดินเพราะมีคนกล่าวไว้ว่าพระองค์ทรงเป็นครูของแผ่นดิน  พระองค์ทรงสอนให้ประชาชนของพระองค์รู้จักการใช้ดินน้ำลมไฟและการใช้ชีวิตให้เกิดประโยชน์กับผู้อื่นและมีเนื้อหาวิธีการสอนอย่างครบถ้วนมากกว่าการสอนภายในห้องเรียนโดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับการเกษตรเป็นหลักเพราะสอนให้ประชาชนรู้จักการทำการเกษตรเพื่อใช้ในการพัฒนาตนเองและทรงมีคำอยู่สองประโยค  คือ  เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม  เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวไทยและทรงดูแลงานต่างๆด้วยพระองค์และทรงคิดโครงการขึ้นมาเพื่อใช้พัฒนาชีวิตของประชาชน

2.ถ้าท่านเป็นครูผู้สอนท่านจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์กับการเรียนการสอนได้อย่างไร
                นำเอาความรู้เกี่ยวกับการเกษตร  หลักการเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการเรียนการสอนคือให้รู้จักประหยัดอดออม  มีความอดทน  มีคูณธรรมจริยธรรม  การเสียสละในการทำงานร่วมกับผู้อื่นและจะสอนให้ผู้เรียนมีการดำรงชีวิตอยู่บนหลักของเศรษฐกิจพอเพียงมากกว่าการสุรุ่ยสุราย  และสอนให้นักเรียนรู้จักคิดมากกว่าท่องจำและหาความรู้ใหม่ๆตลอดเวลา

3.ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะออกแบบการเรียนการสอนที่จะนำแนวคิดนี้ไปใช้ได้อย่างไร
                นำเอาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาสอดแทรกในการสอนวิชาคณิตศาสตร์คือสอนให้เด็กรู้จักการอยู่อย่างพอเพียง  รอบรู้  ระมัดระวัง  รอบคอบ  ขยัน  อดทน  มีความเพียงพอประมาณ มีคุณธรรม เพื่อให้เกิดภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี มีความสมดุล มั่นคง  และมีการให้เด็กศึกษาหาความรู้นอกห้องเรียนบางและให้เด็กมีการคิดมากกว่าจดจำตามครูบอกและมีการลงมือปฏิบัติเพื่อความเข้าใจที่ชัดเจนขึ้น

วันอังคารที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 7



เรื่อง การหาพื้นที่รูปสี่เหลี่ยม

1.การสอน : เรื่องเรขาคณิต เกี่ยวกับการหาพื้นที่รูปสี่เหลี่ยม
  ผู้สอนชื่อ:อ.ไชยวัฒน์ ครรชิตไชย
ระดับชั้นที่สอนครูคณิตศาสตร์ ระดับชั้น ป.6 แห่งโรงเรียนบ้านบางกะปิ

2. เนื้อหาที่ใช้สอนมี
คุณสมบัติของรูปสี่เหลี่ยม 7 ประเภท และใช้คุณสมบัติเหล่านั้น แบ่งกลุ่มสูตรการหาพื้นที่ให้ง่ายต่อการจดจำ และนำไปใช้รวมทั้งนำของเล่นที่เด็กคุ้นเคย คือ หนังยาง มาเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ทดสอบความเข้าใจในภาคปฏิบัติ

3. จัดกิจกรรมการสอนด้าน(สติปัญญา= IQ,อารมณ์=EQ,คุณธรรมจริยธรรม= MQ )
กิจกรรมด้านสติปัญญา คือ การนำเอาของเล่นที่เด็กคุ้นเคย เช่น หนังยาง มาเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ทดสอบความเข้าใจในภาคปฏิบัติ

กิจกรรมด้านอารมณ์ คือ ให้เด็กเกิดความสนุกในการเรียน และทำให้เด็กสนใจเรียนมากขึ้น
กิจกรรมด้านคุณธรรมจริยธรรม คือ มีการสอดแทรกเอาคุณธรรมมาสอนในการเรียนแต่ละครั้ง

4. บรรยากาศการจัดห้องเรียน
        บรรยากาศในการสอนจะสอนทฤษฎีในห้องเรียนและมีการนำเอาอุปกรณ์มาใช้ในการสอนโดยนำของที่อยู่รอบตัวมาใช้ และให้เด็กมีส่วนร่วมในการเรียนการสอนทำให้นักเรียนได้ทบทวนความรู้ก่อนเรียนขั้นต่อไป แลทำให้เด็กจำเป็นขั้นตอนง่ายต่อความเข้าใจ และมีการสอนปฏิบัตินอกห้องเรียนโดยใช้อุปกรณ์ง่ายๆในการสอน คือ หนังยาง มาใช้ในการสอนเรื่องการหาพื้นที่รูปสี่เหลี่ยม เพื่อให้เด็กนำเอาความรู้ที่เรียนมาโดยให้เด็กทดลองทำก่อนโดยการเขียนกับดินสอ โดยเด็กจะต้องเช็ครายละเอียดให้ครบถ้วนก่อนจะทำการส่งงานแต่ละชิ้น และทำให้เด็กรู้จักการแก่ปัญหาที่เจอ
จุดเด่น
      การเรียนคณิตศาสตร์โดยให้นักเรียนเป็นผู้ลงมือปฏิบัติเป็นกลุ่มจะช่วยฝึกทักษะในการคิดและพิจารณานำเอาสิ่งต่างๆมาประยุกต์ การรู้จักแก้ปัญหาและนำเอาของเล่นที่เด็กคุ้นเคยมาใช้ในการสอน






      




กิจกรรมที่ 6





ความทรงจำที่เกิดขึ้นช่วงเวลาเรียน

วันจันทร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 5


ประวัติครูที่ชอบ
ประวัติส่วนตัว
             ชื่อ : นางจรรยา เกิดคง
             วันเดือนปีเกิด : 22 มิ.. 2518
ที่อยู่ปัจจุบัน : 12 หมู่ 2 ตำบลควนพัง อำเภอร่อนพิบูลย์
                        จังหวัดนครศรีธรรมราช 80130
ประวัติการศึกษา
                จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จากโรงเรียนสุนทราภิบาล พ.. 2513
    จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 จากโรงเรียนร่อนพิบูลย์เกียรติวสุนธราภิวัฒก์
    พ.. 2537
   จบระดับปริญญาตรี จากสถาบันราชภัฏนครศรีธรรมราช พ.. 2541
  จบระดับปริญญาโท จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช พ..2549
ประวัติการทำงาน
30 มิถุนายน 2541 บรรจุเป็นข้าราชการครู ตำแหน่งอาจารย์ 1 ระดับ 3
โรงเรียนบ้านสามัคคีธรรม
18 พฤษภาคม 2549 ย้ายมาปฏิบัติหน้าที่ ตำแหน่งครู ค.. 2
โรงเรียนบ้านหนองมาก
8 สิงหาคม 2552 ย้ายมาปฏิบัติหน้าที่ ตำแหน่งครู ค.. 2   โรงเรียนร่อนพิบูลย์
ผลงาน
1.งานวิจัยในชั้นเรียน การพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความโดยใช้แบบฝึกทักษะ
ชั้นป.5โรงเรียนร่อนพิบูลย์ ”“การพัฒนาทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์เขียนโดยใช้ชุด
ฝึกทักษะชั้นป.5- 6 โรงเรียนร่อนพิบูลย์
2.รางวัล ครูสอนดี ปีพ..2554 จาก สสค.
เทคนิคการสอน
1.สอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
2.สอนภาษาไทยโดยใช้กระบวนการปฏิบัติ
3.เทคนิคการสอนแบบโครงงาน
ประยุกต์สิ่งที่ดีของครูมาใช้ในการพัฒนาตนเอง
              การนำสิ่งดีๆของครูมาใช้ในการพัฒนาตนเอง คือ การยึดเอาหลักการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง มีการให้เด็กลงมือปฏิบัติมากกว่าจะเรียนแต่ทฤษฎี และนำเอาโครงงานมาประกอบในการเรียนเพราะฝึกการทำงานเป็นทีมและฝึกทักษะด้านการคิดของผู้เรียนและการเป็นมิตรกับผู้เรียนมากกว่าจะดุผู้เรียนเมื่อทำผิดแต่จะพูดดีๆและถามถึงเหตุผล

วันอาทิตย์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 4


การทำงานเป็นทีม  หมายถึง  การร่วมกันทำงานของสมาชิกที่มากกว่า 1 คน โดยที่สมาชิกทุกคนนั้นจะต้องมีเป้าหมายเดียวกันจะทำอะไรแล้วทุกคนต้องยอมรับร่วมกัน มีการวางแผนการทำงานร่วมกัน
การทำงานเป็นทีม  มีความสำคัญในทุกองค์กร การทำงานเป็นทีม เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการบริหารงาน การทำงานเป็นทีมมีบทบาทสำคัญที่จะนำไปสู่ความสำเร็จของงานที่ต้องอาศัยความร่วมมือของกลุ่มสมาชิกเป็นอย่างดี

ลักษณะของทีม ลักษณะที่สำคัญของทีม 4 ประการ ได้แก่
1. การมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมของบุคคล หมายถึง การที่สมาชิกตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปมีความเกี่ยวข้องกันในกิจการของกลุ่ม
2. มีจุดมุ่งหมายและเป้าหมายร่วมกัน หมายถึง การที่สมาชิกกลุ่มจะมีส่วนกระตุ้นให้เกิดกิจกรรมร่วมกัน
 3. การมีโครงสร้างของทีม
4. สมาชิกมีบทบาทและมีความรู้สึกร่วมกัน การรักษาบทบาทที่มั่นคงในแต่ละทีม
การทำงานเป็นทีมเป็นแรงจูงใจสำคัญที่จะผลักดันให้ท่านเป็นผู้นำที่ดี ถ้าท่านประสงค์ที่จะนำทีมให้ประสบความสำเร็จในการทำงาน ท่านจำเป็นต้องค้นหาคุณลักษณะของการทำงานเป็นทีมให้พบระลึกไว้เสมอว่าทุกคนมีอิสระในตัวเอง
ปัจจัยในการทำงานเป็นทีม
1. บรรยากาศของการทำงานมีความเป็นกันเอง อบอุ่น มีความกระตือรือร้น
2. ความไว้วางใจกัน (trust) เป็นหัวใจสำคัญของการทำงานเป็นทีม
3. มีการมอบหมายงานอย่างชัดเจน
4. บทบาท (role) สมาชิกแต่ละคนเข้าใจและปฏิบัติตามบทบาทของตน
5. วิธีการทำงาน (work procedure) สิ่งสำคัญที่ควรพิจารณา คือ
การสื่อความ
การตัดสินใจ
ภาวะผู้นำ
การกำหนดกติกา หรือกฎเกณฑ์
 6. การมีส่วนร่วมในการประเมินผลการทำงานของทีม ทีมงานควรมีการประเมินผลการทำงาน เป็นระยะ ในรูปแบบทั้งไม่เป็นทางการ และเป็นทางการ
7. การพัฒนาทีมงานให้เข้มแข็งพัฒนาศักยภาพทีมงาน ด้วยการสร้างแรงจูงใจทางบวก
1. แนวคิดหลักการทำงานเป็นทีม เป็นอย่างไร
สำหรับแนวคิดหลักของการทำงานเป็นทีมมีดังนี้
1.การยอมรับความแตกต่างของบุคคล
2.แรงจูงใจของมนุษย์
3.ธรรมชาติของมนุษย์  เกี่ยวกับแรงจูงใจ

2. นักศึกษาจะมีวิธีการทำงานเป็นทีมให้มีประสิทธิภาพทำอย่างไร ยกตัวอย่างประกอบ
การทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพ

1. วัตถุประสงค์ที่ชัดเจนและเป้าหมายที่เห็นพ้องต้องกัน เพื่อใช้เป็นแนวทางการปฏิบัติงาน

- การกำหนดวัตถุประสงค์ที่ดี โดยให้ผู้นำและสมาชิกภายในทีม มีส่วนร่วมในการกำหนด
หน้าที่ความรับผิดชอบและวัตถุประสงค์ร่วมกัน ควรกำหนดจุดมุ่งหมายไว้ให้ชัดเจนที่ผล
งานมากกว่าการกระทำ
- ประโยชน์ของการกำหนดวัตถุประสงค์ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน ใช้เป็น
เครื่องมือในการรวมพลังในการทำงาน และใช้เป็นเครื่องมือวัดความสำเร็จหรือความล้มเหลวในงาน

- คุณลักษณะของวัตถุประสงค์ที่ดี คือ เขียนเป็นลายลักษณ์อักษร เข้าใจได้ง่าย
สามารถปฏิบัติได้จริง ไม่ขัดต่อข้อบังคับและนโยบายอื่นๆในหน่วยงาน 
2. ความเปิดเผยต่อกันและการเผชิญหน้าเพื่อแก้ปัญหา เป็นสิ่งสำคัญต่อการทำงานเป็น
ทีมที่มีประสิทธิภาพ สมาชิกในทีมจะต้องการแสดงความคิดเห็นอย่างเปิดเผยตรงไปตรงมา แก้ปัญหาอย่างเต็มใจและจริงใจ การแสดงความเปิดเผยของสมาชิกในทีม
3. การสนับสนุนและความไว้วางใจต่อกัน สมาชิกในทีมจะต้องไว้วางใจซึ่งกันและกัน
โดยทีละคนมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นอย่างตรงไปตรงมา โดยไม่ต้องกลัวว่าได้รับ
ผลร้ายที่จะมีต่อเนื่องมาภายหลัง
4. ความร่วมมือและการให้ความขัดแย้งในทางสร้างสรรค์ ผู้นำกลุ่มหรือทีมจะต้องทำ
งานอย่างหนักในอันที่จะทำให้เกิดความร่วมมือดังนี้
4.1 การสร้างความร่วมมือกับบุคคลอื่น ในการสร้างความร่วมมือเพื่อความเข้าใจซึ่งกันและ
กันและมีบุคคลอยู่สองฝ่ายคือ ผู้ขอความร่วมมือ และผู้ให้ความร่วมมือความร่วมมือจะเกิดขึ้นได้เมื่อฝ่ายผู้ให้เต็มใจและยินดีจะให้ความร่วมมือ
4.2 การขัดแย้ง หมายถึง ความไม่ลงรอยกันตามความคิด หรือ การกระทำที่เกิดขึ้นระหว่าง
สองคนขึ้นไป หรือระหว่างกลุ่ม โดยมีลักษณะที่ไม่สอดคล้อง ขัดแย้ง ขัดขวาง ไม่ถูกกัน
ทำให้การทำงานเป็นทีมลดลง นับเป็นปัญหา อุปสรรคที่สำคัญยิ่ง
- สาเหตุของความขัดแย้ง ผลประโยชน์ขัดกัน

- ความคิดไม่ตรงกัน หรือ องค์กรขัดแย้งกัน 

- ความรู้ความสามารถต่างกัน ทำให้มีลักษณะการทำงานต่างกัน
- การเรียนรู้ต่างกัน ประสบการณ์ที่มีมาไม่เหมือนกัน
- เป้าหมายต่างกัน
4.3 วิธีแก้ความขัดแย้ง การแก้ความขัดแย้งเป็นเรื่องของทักษะเฉพาะบุคคล การแก้ปัญหา
ความขัดแย้งในการทำงานเป็นทีม ควรใช้วิธีการแก้ปัญหาร่วมกัน ไม่พูดในลักษณะที่แปลความหรือมุ่งตัดสินความ
5. กระบวนการการทำงาน และการตัดสินใจที่ถูกต้องและเหมาะสม งานที่มีประสิทธิภาพนั้น
ทุกคนควรจะคิดถึงงานหรือคิดถึงผลงานเป็นอันดับแรก ต่อมาควรวางแผนว่าทำอย่างไร